2 minutes min

ทำไมบ้านถึงได้ร้อน และวิธีการแก้ปัญหาบ้านร้อน ทำให้บ้านเย็นขึ้น

Posted on 05.04.2021 - updated on: 15.06.2021

"จากข่าวพยากรณ์อากาศ คาดว่าฤดูร้อนในปี 2563 เมืองไทยร้อนสูงสุดอยู่ที่ 40-44 องศาเซลเซียส หรือมีทีท่าที่อาจจะมากกว่า ซึ่งปีที่แล้วประเทศไทยเราก็ร้อนจนเข้าขั้นร้อนจนแทบทนไม่ไหว"

อากาศที่ร้อนขนาดนี้ จะหลบแดดมาคลายร้อนในบ้าน ก็ยังไม่หาย เพราะในบ้านของเราก็ร้อนไม่ต่างจากอากาศภายนอกเลย ทั้งๆ ที่มีหลังคากันแดดแล้วแท้ๆ เนื่องจากรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้แผ่เข้ามาในบ้าน ผ่านเข้ามาทางหลังคา ส่งมาถึงฝ้าเพดาน และส่งลงไปยังห้องต่างๆ ภายในตัวบ้าน นอกจากนี้รังสีความร้อนยังผ่านเข้ามาทางผนังบ้านได้อีกด้วย นั่นจึงทำให้เมื่อเราอยู่บ้านก็ต้องเปิดแอร์ทั้งวัน ซึ่งนั่นทำให้ค่าไฟพุ่งกระฉูดตามมา

ทำไมบ้านร้อน

สาเหตุที่ทำให้บ้านร้อนหลักๆ มีอยู่ 2 สาเหตุ ก็คือความร้อนที่เกิดจากภายนอกบ้าน จากอุณหภูมิ จากแสงแดด อย่างที่กล่าวไปข้างต้น และความร้อนสะสมที่มีอยู่ภายในบ้าน ซึ่งมาจากระบบระบายอากาศภายในบ้านไม่ดีหรืออุดอู้ เมื่อความร้อนเข้ามาภายในบ้าน แล้วไม่มีการระบายออกไป ก็เกิดความร้อนสะสมอยู่ในบ้าน วิธีแก้ก็อาจจะต้องแก้ตั้งแต่ออกแบบบ้าน หรือการตกแต่งภายใน ทั้งนี้ ยิปรอค ตราบ้านลองลิสต์มาให้ดูว่า ตัวอย่างของความร้อนที่เกิดภายในบ้านมีอะไรบ้าง

1.บ้านไม่มีต้นไม้ใหญ่ช่วยบังแดด ทำให้ภายในบ้านร้อน

2.ไม่จัดตำแหน่งห้องในบ้านให้ถูกทิศ ทำให้ร้อนและอึดอัด

3.ไม่มีการปลูกต้นไม้กระถางภายในบ้านเลย ทำให้รู้สึกร้อน

4.ไม่มีกันสาดหรือระแนงกันความร้อนจากแสงแดดในช่วงบ่ายทางทิศใต้และทิศตะวันตก

5.ไม่มีสนามหญ้า มีแต่ลานคอนกรีตเต็มพื้นที่รอบบ้าน ทำให้ลมพัดเอาไอร้อนเข้าบ้าน

6.รั้วบ้านสูงและทึบ จนลมไม่สามารถพัดผ่านเข้าสู่ภายในบ้าน บ้านจึงร้อนอบอ้าว

7.ต่อเติมบ้านจนไม่มีทางให้แสงและลมเข้าออก ทำให้บ้านมืดทึบและร้อนอบอ้าว

8.ฝ้าเพดานเตี้ยเกินไป ทำให้ความร้อนที่ต้องลอยตัวขึ้นด้านบนยังคงลอยตัวในระดับต่ำ

9.ไม่ยอมเปิดหน้าต่างทางทิศเหนือและทิศใต้ทำให้ลมไม่เข้าบ้าน อากาศไม่ถ่ายเทจึงอึดอัด และร้อน

10.ไม่ติดอุปกรณ์กันแดด เช่น ผ้าม่าน หรือมู่ลี่ บริเวณหน้าต่างที่แสงเข้า ทำให้บ้านร้อนทุกวัน

11.เฟอร์นิเจอร์มีขนาดใหญ่มากเกินไป ทำให้อึดอัด และทึบ

12.วางเฟอร์นิเจอร์บดบังแสงสว่าง และปิดกั้นทางลมผ่าน จึงรู้สึกทึบ อุดอู้ ไม่น่าอยู่

13.วางเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากผ้า ซึ่งมีคุณสมบัติในการอมความร้อนได้ดี อยู่ติดผนังด้านที่โดนแดด ทำให้ช่วงตอนเย็นและค่ำ เมื่อผ้าคลายความร้อนออกมา จึงรู้สึกร้อน

14.ห้องครัวไม่ได้ติดตั้งเครื่องดูดควันและพัดลมดูดอากาศ ทำให้ความร้อน กลิ่น และควัน สะสมอยู่ในตัวบ้าน

15.ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้ามาก สะสมความร้อน

16.ใช้หลอดไส้ (ไฟหลอดไส้โคมดาวน์ไลท์ให้ความร้อนมากกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์)

17.ไม่ได้ทำความสะอาด มุ้งลวด ผ้าม่าน ที่เป็นตัวสะสมฝุ่นจนลมไม่เข้าบ้าน

18.ปูพรมบนพื้นทั่วทั้งบ้าน ทำให้เก็บฝุ่น เชื้อโรค ความร้อน และเปลืองค่าไฟฟ้า

19.ไม่ใช้สีโทนอ่อนกลับใช้สีโทนเข้มทั้งภายนอกและภายในบ้าน ทำให้ผนังสะสมความร้อนมากเกินไป

20.ทาผนังด้วนสีโทนร้อนมากเกินไป ทำให้คุณรู้สึกร้อนตามไปด้วย

ส่วนความร้อนที่เกิดขึ้นภายนอกบ้านเป็นปัญหาหลักที่เราต้องป้องกัน จะได้ไม่เกิดความร้อนสะสมภายในบ้านมาก ซึ่งส่วนใหญ่ความร้อนจากแสงแดดและอุณหภูมิภายนอกจะเข้ามาได้ ก็คือ หลังคาบ้านและผนังบ้าน ดังนั้นวิธีการรับมือกับความร้อนของแสงแดด ก็คือ การพยายามหาตัวช่วยมาป้องกันความร้อนเหล่านั้นไม่ให้ทะลุทะลวงเข้ามาภายในบ้านได้นั่นเอง ซึ่งตัวช่วยเหล่านั้นก็คือ

ความร้อนที่แผ่ลงมาจากหลังคา

เมื่อหลังคาที่บ้านของคุณร้อน ความร้อนจะผ่านมายังเพดาน ลงมาที่พื้นที่ภายในห้อง หรือบ้านของคุณ ซึ่งผู้อยู่อาศัยจะรู้สึกถึงความร้อนที่สะสมภายในห้องได้ในช่วงบ่าย

หลังคาร้อน

วิธีแก้ไข

1. ใช้แผ่นฝ้าเพดาน สำหรับสะท้อนรังสีความร้อน เพื่อไม่ให้รังสีความร้อนผ่านเข้าสู่ภายในบ้านได้มากนัก ซึ่งสามารถเลือกใช้ แผ่นยิปรอคชนิดสะท้อนรังสีความร้อนบุอลูมิเนียมฟอยล์ ที่ช่วยลดการสะท้อนรังสีความร้อนได้ถึง 95% สำหรับติดตั้งฝ้าเพดาน เหมาะสำหรับฝ้าชั้นบนสุด ใต้หลังคา ห้องที่ต้องการสะท้อนความร้อนออกจากตัวบ้าน

95

2. ใช้ฉนวนใยแก้ว ฉนวนใยแก้วนั้นประกอบด้วยเส้นใยไฟเบอร์เล็กๆ ที่มีประสิทธิภาพทนความร้อนสูง ภายในจะมีโพรงอากาศเล็กๆ มากมาย ทำหน้าที่เก็บกักความร้อน จึงสามารถลดปริมาณความร้อนที่ผ่านเข้าสู่ภายในบ้านได้ โดยฉนวนใยแก้วนี้ใช้สำหรับวางบนฝ้าเพดาน หรือใส่ไว้ในช่องว่างของผนัง ซึ่งฉนวนใยแก้ว อิโซแวร์ มีคุณสมบัติ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกันความร้อน (Thermal Insulation) และการกันเสียงระหว่างห้อง (Acoustic Performance) น้ำหนักเบา ไม่ยุบตัว ไม่ติดและไม่ลามไฟ อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้ในอุณหภูมิที่สูงสุดถึง 230 องศาเซลเซียส สำหรับห้องทางทิศตะวันตก ทิศใต้ หรือฝ้าชั้นบนสุด ที่ต้องการให้ช่วยกันความร้อน และกันเสียง

ฉนวนใยแก้ว

3.ใช้ฉนวนโฟม โดยอาจนำมาติดตั้งกับแผ่นยิปซัม น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่าย ซึ่งสามารถเลือกใช้แผ่นฝ้าเพดาน ชนิดกันร้อนพิเศษ ยิปรอค เทอร์มัลไทล์ ซึ่งประกอบไปด้วย เเผ่นฝ้าเพดานชนิดทำความสะอาดง่ายร่วมกับฉนวนโฟม EPS ชนิดไม่ลามไฟ ให้ประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันความร้อนจากภายนอกสู่ภายในอาคารได้มากกว่าเเผ่นฝ้าเพดานธรรมดาถึง 5 เท่า เป็นทางเลือกใหม่ที่สามารถช่วยลดปริมาณความร้อนจากภายนอกเเละเก็บความเย็นให้คงอยู่ภายในบ้านได้อย่างดีเยี่ยม เหมาะสำหรับผนังทิศตะวันตก ทิศใต้ หรือฝ้าชั้นบนสุด

6

ความร้อนที่ส่งผ่านมาจากผนังบ้าน

ผนังบ้านที่ไม่มีฉนวนจะนำความร้อนเข้ามาสู่บ้านได้ง่ายดาย โดยเฉพาะเมื่อเวลามีแสงแดดแรงจัด และยิ่งกำแพงบ้านของคุณเป็นอิฐ จะรู้เลยว่าบ้านของคุณจะร้อนขนาดไหน เพราะความร้อนจะถูกเก็บไว้ในอิฐก่อนจะระบายออกมาที่ผนังบ้าน ซึ่งมันจะสะสมความร้อนไว้ในช่วงกลางวันและถูกปล่อยออกมาในเวลากลางคืน

วิธีแก้ไข

1. ติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติม ฉนวนนี้สามารถสร้างเกราะป้องกันระหว่างแสงอาทิตย์ที่ร้อนภายนอกและพื้นที่ภายในทำให้อากาศเย็นสบายและน่าอยู่ขึ้น ซึ่งสามารถใช้ ฉนวนใยแก้ว อิโซแวร์ คู่กับผนังยิปซัมได้เลย โดยจะใช้แผ่นชนิดธรรมดา หรือชนิดพิเศษใดๆ ก็ได้ตามที่ต้องการ เหมาะสำหรับผนังทิศตะวันตก ทิศใต้ หรือฝ้าชั้นบนสุด ที่ต้องการกันความร้อนและกันเสียง

2. สามารถเลือกใช้ แผ่นชนิดกันร้อนพิเศษ ยิปรอค เทอร์มัลไลน์ ซึ่งประกอบไปด้วย ในการผสาน 2 คุณสมบัติพิเศษ ลดการส่งผ่านความร้อนของแผ่นยิปซัมร่วมกับฉนวนโฟม EPS Hi-Dense ให้ประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันความร้อนจากภายนอกสู่ภายในอาคารได้มากกว่าผนังก่ออิฐทั่วไปถึง 8 เท่า ช่วยลดค่าแอร์ได้สูงสุด 69% และยังช่วยประหยัดค่าแรงได้มากกว่า 50% เหมาะสำหรับผนังทิศตะวันตก ทิศใต้ หรือฝ้าชั้นบนสุด

7

ทั้งหมดนี้ คือ เคล็ดที่ไม่ลับ ที่ทำให้บ้านเย็นได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเครื่องปรับอากาศทั้งวันอีกต่อไป และยังช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้เยอะเลย ที่สำคัญลงทุนวันนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้ด้วยนะครับ 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม :

แผ่นยิปรอค ชนิดสะท้อนรังสีความร้อนบุอลูมิเนียมฟอยล์ : https://bit.ly/2TeX4Bo

ฉนวนใยแก้วอิโซแวร์: https://bit.ly/38WmDh4

แผ่นยิปรอค ชนิดกันร้อน เทอร์มัลไลน์ : https://bit.ly/2vbijft
แผ่นฝ้าเพดานยิปรอค ชนิดกันร้อน เทอร์มัลไทล์ : https://bit.ly/2uuzY16

e-book :

https://issuu.com/gyprocthailand/docs/gyproc_thermal_th__09-2019?fr=sZTE5MjEwMDY4MzQ และ

https://issuu.com/gyprocthailand/docs/isover_th?fr=sZDEwNTEwMDY4MzQ